Post-Departure ต้องทำอย่างไรเมื่อเดินทางถึงอังกฤษ
เมื่อนักเรียนเดินทางไปถึงอังกฤษ อาจไม่แน่ใจว่าต้องทำอะไรบ้าง วันนี้พี่ EFL UK รวบรวมมาให้แล้วว่า To do list ที่ควรทำเมื่อเดินทางไปถึงที่ประเทศอังกฤษมีอะไรบ้าง ดังนี้
สิ่งแรกที่ท่านจะพบเมื่อเดินออกจากเครื่องบินคือป้ายบอกทาง ขอให้ท่านสังเกตุป้าย Luggage Claim (เพื่อรับกระเป๋าเดินทาง) ซึ่งเป็นที่หมายเมื่อท่านมาถึงอาคารชั้นในท่านต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเพื่อตรวจพาสปอร์ต ซึ่งท่านต้องเข้าช่องสำหรับคนต่างชาติ เอกสารที่ท่านต้องสำแดง มีดังนี้
1. พาสปอร์ตตัวจริง
2. แบบฟอร์มเข้าเมืองที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
3. Offer Letter หรือใบตอบรับเข้าเรียน
4. Evidence of Financial Support (ใบรับรองสภานะทางการเงิน)
5. IOM Certificate (ใบรับรองการผลการตรวจหาเชื้อวัณโรค)
เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะถามจุดประสงค์ของการเดินทางของท่าน ที่อยู่ที่จะเข้าพักในอังกฤษ ท่านอาจยื่นจดหมายตอบรับให้ดูประกอบเพื่อความชัดเจน ในกรณีที่ท่านไม่มั่นใจที่จะสื่อสารโดยการพูด
เมื่อผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ท่านจะเห็นป้าย Luggage Claim และจอทีวีแสดงเที่ยวบินและเบอร์สายพานกระเป๋าของท่าน หากท่านมีของต้องสำแดงต้องเดินออกทางช่องสีแดง หรือเดินออกช่องเขียวหากท่านไม่มีอะไรต้องสำแดง
ข้อควรจำ ท่านจะได้รับ Luggage Tag ตามจำนวนกระเป๋าที่ท่านโหลดขึ้นเครื่อง เช่น ถ้าท่านโหลดกระเป๋า 2 ใบท่านจะได้รับ Luggage Tag 2 อันเช่นกัน
ในกรณีประเป๋าหายที่สนามบินปลายทาง ท่านต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ Lost Luggage Claim Counter ซึ่งมีอยู่ทุกสนามบินปลายทาง บริเวณจุดรับกระเป๋า เจ้าหน้าที่จะ ขอดู Luggage Tag เพื่อสแกนหมายเลข Tracking Number และติดตามกระเป๋าคืนมาให้ท่านโดยจะส่งไปยังที่อยู่ที่อยู่ของท่านในประเทศอังกฤษ
เมื่อท่านออกมาสู่บริเวณรอรับผู้ได้สาร ขอให้ท่านสังเกตุป้ายที่มีชื่อ-นามสกุลของท่านหรือชื่อสถาบันการศึกษา หากท่านไม่พบใคร ท่านควรติดต่อเบอร์ฉุกเฉินของบริษัทรถหรือขอความช่วยเหลือจาก เคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์ หากท่านไม่เคยเดินทางคนเดียวมาก่อนและยังไม่มั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ไม่ควรออกไปนอกบริเวณสนามบินหรือพยายามเดินทางไปยังที่พักด้วยตัวเอง แต่ควรรออยู่ที่บริเวณเคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือ
Tip: ท่านอาจนำโทรศัพท์มือถือของเมืองไทยติดตัวไปและเปิด Roaming ให้สามารถใช้ได้ในระยะเวลาช่วงแรกของการเดินทาง (จนกว่าจะหาซื้อโทรศัพท์ใหม่ในประเทศอังกฤษได้) เพราะอุ่นใจกว่า ถ้าท่านไม่พบใครที่สนามบินอย่างน้อยก็สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากทางบ้านหรือจากทางสำนักงานของเราซึ่งยินดีเป็นศูนย์ประสานงานขอความช่วยเหลือแก่นักศึกษา
นักเรียนที่ไปเรียนเกิน 6 เดือนขึ้นไปจะได้รับบัตร BRP หรือ Biometric Residence Permit เพื่อใช้แทนบัตรประจำตัวตอนที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอังกฤษ คล้ายบัตรประชาชน โดยบัตร BRP จะระบุข้อมูลส่วนตัวและประเภทวีซ่าของท่านพร้อมทั้งรูปถ่ายและลายนิ้วมือ นักเรียนทุกคนต้องไปรับ BRP ทันทีภายใน 10 วันที่เดินทางไปถึงที่ประเทศอังกฤษ หากไม่อย่างนั้นบัตรจะถูกตีกลับมาที่ Home Office ในลอนดอนทำให้เสียเวลาและอาจถูกปรับ ก่อนเดินทางควรเช็คให้ดีว่าต้องไปรับที่ Post Office หรือ International office ของสถาบันที่ท่านเดินทางไปศึกษาต่อ
อย่างไรก็ตาม บัตร BRP เปรียบเสมือนบัตรประชาชนของนักศึกษา ห้ามทำหายหรือชำรุดเด็ดขาด มิฉะนั้นจะต้องทำการออกบัตรใหม่ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม นักศึกษาที่เดินทางเข้า-ออกประเทศอังกฤษจะต้องโชว์บัตร BRP ควบคู่กับหนังสือเดินทางทุกครั้ง หากไม่มีจะถูกห้ามให้เดินทางเข้าประเทศอังกฤษได้
การโทรศัพท์จากประเทศอังกฤษกลับมายังประเทศไทย
ตัวอย่าง ถ้าท่านต้องการโทรหาศูนย์แนะแนวเอ็ดดูเคชั่น ฟอร์ ไลฟ จากอังกฤษ ซึ่งมีเบอร์โทรศัพท์ 02 720 1065 ท่านต้องกด 00 หรือ กดเครื่องหมาย “+” ตามด้วยรหัสประเทศ รหัสพื้นที่ ตัด 0 ออก และตามโดยเบอร์โทร +662 720 1065
หากต้องการโทรจากประเทศไทยไปยังประเทศอังกฤษ
ตัวอย่าง ถ้าท่านต้องการให้ทางบ้านโทร มาหาท่านตามเบอร์มือถือ 078 6964 6418 ให้กดรหัสโทรออกต่างประเทศ 001, 007, 008 หรือ 009 ตามด้วยรหัสประเทศอังกฤษ 44 ตัด 0 ออกและตามด้วยหมายเลขที่เหลือ เช่น 001 44 78 6964 6418 หรือ +4478 6964 6418
โทรศัพท์มือถือ
Pre-paid SIM card หรือซื้อซิมการ์ดแบบชำระเงินล่วงหน้า ถ้าท่านนำเครื่องมือถือจากประเทศไทยติดตัวไปด้วย ท่านสามารถซื้อ แพ็คเกจซิมการ์ดแบบพรีเพด และใช้ได้ทันที ท่านจะสามารถโทรออกได้ตราบเท่าที่มูลค่าในซิมการ์ดยังมีเหลืออยู่ โปรดระวังว่าซิมการ์ดแบบชำระเงินล่วงหน้าจะมีวันหมดอายุของมูลค่าคงเหลือด้วย ท่านต้องต่ออายุบัตรภายในระยะเวลาที่กำหนด ด้วยการเติมเงินเพิ่มลงในบัตรของท่าน
ท่านสามารถเปิดบัญชีประเภทนักศึกษาต่างชาติกับทางธนาคารของประเทศอังกฤษ เอกสารที่ใช้มีดังนี้
- หนังสือเดินทางตัวจริง (Passport) และหน้าวีซ่า (UK Visa)
- ที่พำนักในสหราชอาณาจักร (Accommodation Allocation Letter)
- ใบตอบรับเข้าเรียนจากสถาบันการศึกษา (A confirmation of registration or an offer letter) หรือบัตรประจำตัวนักเรียน (Student ID Card)
ธนาคารในสหราชอาณาจักรมีให้เลือกหลากหลาย เช่น Barclays, HSBC, Lloyds Bank, NatWest, Santander การเลือกเปิดบัญชีกับธนาคารใดๆ ควรเลือกที่ใกล้ที่พักหรือใกล้สถาบันที่เราเรียนจะดีที่สุด เพื่อความสะดวก บางธนาคารอาจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ในขณะที่บางธนาคารไม่มี ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจ การเปิดบัญชีอาจใช้เวลานานตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นช่วงแรกควรพวกเงินสดหรือ Travel Card ไปด้วยเพื่อใช้ในยามจำเป็น แต่ไม่ควรพกเงินสดก้อนใหญ่เวลาเดินทางเพื่อความปลอดภัย
ข้อควรจำ ธนาคารในประเทศอังกฤษไม่มีสมุดบัญชีหรือ passbook ท่านจะได้รับ Statement ทุกเดือน ท่านจำเป็นต้องเก็บ Statement ไว้เพราะจะต้องนำมาใช้ในการต่อวีซ่าในประเทศอังกฤษ
นักศึกษาต่างชาติที่ลงทะเบียนเรียนเกิน 6 เดือนและจ่ายค่าประกันสังคม (IHS) จะได้รับการรักษาพยาบาลฟรีโดย NHS ท่านควรลงทะเบียนกับ Clinic ประจำมหาวิทยาลัยตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเรียน ท่านสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ดูแลนักศึกษาต่างชาติ ในกรณีที่ท่านสงสัยหรือไม่เข้าใจสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลของท่าน
หรือท่านสามารถซื้อประกันสุขภาพก่อนเดินทางจากประเทศไทยได้ สำหรับผู้ที่มีอายุ 14-49 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ ให้ความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมอุบัติเหตุ สุขภาพ ผลประโยชน์ชดเชยในการสูญเสียค่าเล่าเรียนและผลประโยชน์ชดเชยการเดินทางไปเยี่ยมผู้เอาประกัน อีกทั้งยังเพิ่มความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยนานถึง 90 วันหากท่านกลับมาเยี่ยมบ้านในประเทศไทย