fbpx
Add Line

เกร็ดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหราชอาณาจักร: ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ

ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษแบ่งเป็น 4 ระดับใหญ่ๆ ดังนี้

ระดับประถมศึกษา (Primary Education: Key Stage 1-3)

รับนักเรียนอายุ ตั้งแต่ 5-14 ปี โดย Pre-Preparatory School (เตรียมประถมศึกษา) จะรับเด็กอายุ 5-7 ปี และ Preparatory School (ประถมศึกษา) รับเด็กอายุ 7-14 ปี

ระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education: Key Stage 4)

รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป และเรียนได้จนถึงอายุ 18-19 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของอังกฤษมีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและโรงเรียนของเอกชน ซึ่งการขึ้นชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นการขึ้นชั้นเรียนโดยอัตโนมัติ ไม่มีการสอบตก และหลังจากที่จบการศึกษาเมื่ออายุ 16 ปีแล้ว กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษจะกำหนดให้มีการวัดความรู้ ความสามารถของเด็ก โดยการจัดสอบของคณะกรรมการอิสระ ซึ่งมีการสอบประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ผลการสอบดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป การสอบนี้มี 2 ประเภท คือ

GCSE (General Certificate of Secondary Education) Year 10-11

เป็นการสอบเมื่อนักเรียนอายุ 16 ปีขึ้นไป โดยเลือกสอบประมาณ 5-12 วิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ฯลฯ ผลการสอบจะแบ่งออกเป็น 8 ระดับ ได้แก่ Grade A*, A , B , C , D , E , F และ G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจะถือว่าสอบผ่าน อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 ทางรัฐบาลอังกฤษได้เปลี่ยนการออกคะแนนเป็นตัวเลขแทน ตั้งแต่ 1-9 โดย 9 คือคะแนนสูงสุด ผู้ที่สอบได้ Grade 4 ขึ้นไปจะถือว่าสอบผ่าน นักเรียนที่สอบ GCSE ต้องผ่านอย่างน้อย 5 วิชาขึ้นไป หากจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะต้องเรียนต่ออีก 2 ปี ในระดับ A-Level

นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตร IGCSE (International General Certificate of Secondary Education) สำหรับนักเรียนที่ภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างแพร่หลายทั่วโลก ใช้เกณฑ์เดียวกันกับ GCSE ทุกประการ

GCE (General Certificate of Education) “A-Level” Year 12-13

การเรียนต่อระดับ A-level จะเหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา กำหนดระยะเวลามาตรฐานไว้ที่ 2 ปี โดยจะแบ่งเป็น AS และ A2 นักเรียนจะต้องเรียนเพื่อเก็บคะแนนและผลงาน โดยจะมีการสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาการของนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่นักเรียนจะลงทะเบียนเรียนเพียง 3-4 วิชา ซึ่งมักจะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับคณะหรือสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อ ผลการสอบ A Level มี 6 ระดับ คือ A*, A , B, C, D และ E ซึ่ง Grade ที่ได้ทั้ง 5 ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป บางแห่งอาจรับเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนระดับ A และ B ผลการสอบ GCE “A” Level นี้ จะเป็นเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยใช้ในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยคะแนนจะนำมาแปลงเป็น Tariff Point ตามที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนด

นักเรียนจะต้องยื่นใบสมัครเข้าระบบกลางที่เรียกว่า UCAS เพื่อเลือก 5 คณะ ในช่วงต้นเทอม A2 นักเรียนต่างชาติต้อง Submit UCAS Application ก่อนวันที่ 15 มกราคมของทุกปี อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ UCAS ให้มากขึ้น ได้ ที่นี่

ระดับอาชีวศึกษา (Further Education)

การศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีและไม่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการเรียนต่อเพื่อเอาคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพมี 2 ประเภท คือ

GNVQ (General National Vocational Qualification) เป็นการศึกษากึ่งสายอาชีพ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

1. GNVQ Foundation หลักสูตร 1 ปี
2. GNVQ Intermediate หลักสูตร 2 ปี ต่อจาก GNVQ Foundation
3. GNVQ Advanced หลักสูตร 2 ปี เทียบเท่า A-Level ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนี้สามารถสมัครเข้าศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษาได้
4. GNVQ 4 การศึกษาระดับนี้เทียบเท่าหลักสูตรชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรี จึงสามารถเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยได้

นอกจากนี้คุณวุฒิวิชาชีพ GNVQ กำลังเข้ามาแทนคุณวุฒิ First Diploma, National Diploma และ Higher National Diploma (HND) ซึ่งเป็นหลักสูตรอาชีวศึกษาแบบเก่าของอังกฤษ

NVQs (National Vocational Qualifications) เป็นการศึกษาสายอาชีพและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพเฉพาะ โดยผู้ว่าจ้างสหภาพแรงงานและผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา การศึกษาระดับนี้แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ NVQ 1 , NVQ 2 , NVQ 3 , NVQ 4 และ NVQ 5 แต่ละระดับจะยึดตามความสามารถเป็นหลัก ไม่มีการกำหนดระยะเวลาหลักสูตรที่แน่นอนตายตัว

สำหรับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการออกคุณวุฒิ GNVQs และ NVQs มีดังนี้

1. BTEC (Business and Technology Education Council): เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบครอบคลุมวิชาด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ สุขภาพ สังคมสงเคราะห์ สันทนาการและการท่องเที่ยว
2. C & G (City and Guilds of London Institute): เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ครอบคลุมด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป เชน่ วิศวกรรม การกอ่ สร้าง การบริการจัดเลี้ยง
3. RSA (Royal Society of Arts): เป็นหน่วยงานที่เปิดสอนหลักสูตรคล้ายกับ BTEC และ C & G และยังเชี่ยวชาญด้านทักษะการทำงานในสำนักงานการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ

สำหรับหลักสูตรและวุฒิการศึกษาของสก๊อตแลนด์นั้น เมื่อนักเรียนจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 จะสอบ Standard Grades ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ Foundation, General และ Credit และเมื่อจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 นักเรียนมักจะสอบ Highers นักเรียนบางคนเมื่อจบแล้วจะสอบผ่าน Highers 4 – 5 วิชา หรืออาจถึง 6 วิชา ในกรณีพิเศษและได้เกรดที่ต้องการสำหรับเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของสก๊อตแลนด์แต่อย่างไรก็ตามนักเรียนอาจเรียนต่ออีก 1 ปี เพื่อเรียน Advanced Highers และเมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนจะสอบการศึกษาดังกล่าว โดยทั่วไป Advanced Highers เทียบได้กับ GCE A-Level เกรด A ถึง C

ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)

การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และ College of Higher Education หลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น

Undergraduate Course หลักสูตรปริญญาตรี

Business and Technician Education (BTEC), Higher National Certificate / Diploma (HNC/HND) หรือ Diploma of Higher Education (Dip.HE) หลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่ เปิดสอนใน College of Higher Education และอาจมีในมหาวิทยาลัยบางแห่งรับจากผู้ที่สอบ “A” Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma สำหรับวิธีการสมัครต้องสมัครผ่าน Universities Central Admission System (UCAS) เช่นเดียวกับปริญญาตรี

First Degree (Bachelor’s degree) หลักสูตรส่วนใหญ่ 3 ปี ยกเว้นบางสาขา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี), ทันตแพทยศาสตร์ (5 ปี), สัตวแพทยศาสตร์ (5 ปี), แพทยศาสตร์ (6 ปี) ปริญญาที่ให้ ได้แก่ Bachelor of Arts (B.A.) Bachelor of Sciences (B.Sc.) Bachelor of Education (B.Ed.) Bachelor of Engineering (B.Eng.)

สำหรับในสก๊อตแลนด์มี 2 หลักสูตร คือ Ordinary degree หลักสูตร 3 ปี และ Honours degree หลักสูตร 4 ปี

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังเปิดหลักสูตรปริญญา ดังนี้

1. Joint Honours Degree เป็นการเรียนร่วมตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไป โดยแต่ละสาขาวิชาต้องเรียนหนักเท่ากัน ทั้งนี้อาจเป็นสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกัน เช่น เศรษฐศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่ไม่ใกล้เคียงกันแตมี่ความเกี่ยวข้องกัน เช่น คอมพิวเตอร์, และจิตวิทยา

2. Combined Degree เป็นการเรียนร่วมในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียนหนักเท่ากัน

3. Sandwich Courses เป็นการเรียนโดยรวมเวลาฝึกงานกับเวลาเรียนเข้าด้วย เช่น การฝึกงานด้านอุตสาหกรรม พาณิชยการ หรือการบริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับวิชาที่ศึกษา ระยะเวลาการศึกษาจึงใช้เวลานานกว่าปกติคือ 4 ปี การฝึกงานอาจจัดเป็นช่วงเดียว คือ เป็นเวลา 1 ปี หรือ 2 ช่วง ๆ ละ 6 เดือน ซึ่งถูกเรียกว่าหลักสูตร thin – sandwich หลักสูตร ทั้ง 2 ประเภทนี้ นักศึกษาจะต้องกลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัยในปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษา

Postgraduate Course หลักสูตรที่สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป

1. Postgraduate Certificate/Postgraduate Diploma หลักสูตร 6 เดือน ถึง 9 เดือน รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. Master Degree หลักสูตร 1 – 2 ปี รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง การเรียนระดับนี้มีทั้งหลักสูตรปริญญาโทแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master) และปริญญาโทแบบทำวิจัย (Master by Research)

หลักสูตรปริญญาโทแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master) เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเฉพาะด้านได้ โดยอยู่ในความดูแลของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ วิธีการเรียนการสอนมีทั้งการบรรยาย การสัมมนา การทำงานในห้องทดลอง และการทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาที่ให้ได้แก่ Master of Arts (M.A.), Master of Science (M.Sc.), Master of Business Administration (M.B.A.)

หลักสูตรปริญญาโทแบบทำวิจัย (Master by Research or MRes) เป็นหลักสูตรที่นักเรียนจะต้องค้นคว้าด้วยตนเอง โดยอยู่ภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนใหญ่ของหลักสูตรจะเป็นการศึกษาหัวข้อวิจัย และวางแผนการเรียนวิทยานิพนธ์ การประเมินผลจะประเมินจากการเขียนวิทยานิพนธ์ ปริญญาที่ให้ได้แก่ Master of Philosophy (M.Phil.), Master of Science by Research (M.Sc. by research)

หลักสูตรปริญญาเอก Doctoral degree or Doctor of Philosophy เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยการทำวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนใหญ่การศึกษาระดับนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ปริญญาที่ให้คือ Ph.D. หรือ D.phil. นอกจากนี้ยังมี New Route to PhD ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการศึกษาปริญญาเอก ใช้เวลาศึกษา 4 ปี โดย 30 – 40 % ของหลักสูตรจะเป็นการเรียนแบบ Taught course และ 60 – 70 % จะเป็นการทำวิจัย

EFL UK

CALL BACK Service

    ชื่อ *

    นามสกุล *

    อีเมล์ *

    เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ *

    ระดับการศึกษาที่สนใจ *

    สาขาวิชาที่สนใจ *

    Input this CAPTCHA:captcha


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร 02-129-3134-5 | 097-1400-527 Line ID: @EFLUK
    อ่านข้อมูลเรียนต่อปริญญาตรี Click!!
    อ่านข้อมูลเรียนต่อปริญญาโท Click!!
    EDUCATION FOR LIFE UK ตัวแทนของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและยุโรปอย่างเป็นทางการ บริการฟรีทุกขั้นตอน Tel. 02-129-3134-5, 097-1400-527 สมัครเรียน สมัครหอพัก จองตั๋วเครื่องบิน รถรับ-ส่งสนามบิน รวมถึงเตรียมเอกสาร กรอกใบสมัคร On-line และทำการนัดหมายกับสถานทูตอังกฤษให้ฟรี
    12/05/2020
    Design © EFLUK. All rights reserved.

    Setup Menus in Admin Panel